บทความทั่วไป

Internet Cooperation for Assigned Names and Numbers (ICANN)

on ธันวาคม 9, 2019        by Naritcha

ICANN หรือ Internet Cooperation for Assigned Names and Numbers องค์กรบริหารทรัพยากรโดเมนโลก ดำรงเป็นองค์กรระดับบนสุดในโครงสร้างการบริหารงานและพัฒนาระบบโดเมนโลกที่ ดำเนินงานแบบไม่หวังผลกำไร (non-profit organization) มีโครงสร้างการดำเนินงานที่อาศัยความร่วมมือจากนานาชาติ

ในแง่ของการเป็นหุ้นส่วนกับสาธารณะชนต่างๆ ICANN ทุ่มเทการทำงานเพื่อที่จะรักษาเสถียรภาพการดำเนินงานของระบบอินเตอร์เน็ต และส่งเสริมการแข่งขันเสรี และเพื่อที่จะดำรงอยู่เป็นตัวแทนของชุมชนอินเตอร์เน็ตโลกที่ทำหน้าที่พัฒนา นโยบาย เพื่อการดำเนินงานภารกิจต่างๆเหล่านี้ด้วยกระบวนการจากล่างสู่บน (bottome up) บนพื้นฐานของมติที่เป็นเอกฉันท์ (concensus-based)

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ICANN : www.icann.org

หัวใจสำคัญในการดำเนินงาน

เพื่อดำรงลักษณะสำคัญของชื่อโดเมนที่แต่ละ ชื่อในระบบจะต้องไม่มีความซ้ำซ้อนกัน ซึ่งทำให้การอ้างถึงแหล่งข้อมูลที่อยู่ตาม server ต่างๆในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตดำเนินไปอย่างเป็นระบบระเบียบ และเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและทำให้ผู้ใช้มีเครื่องมือในการอ้างถึง แหล่งข้อมูลต่าง ๆ ในระบบอินเตอร์เน็ตได้อย่างไม่สับสน

ICANN จึงมีการ ดำเนินงานอย่างมีเป้าหมายสำคัญในการสร้างหลักประกันในเรื่องเสถียรภาพ (stability) และความมั่นคงปลอดภัย (security)ให้แก่ระบบชื่อและหมายเลขของอินเตอร์เน็ต (Internet’s system of assigned names and numbers)

ความรับผิดชอบหลักของ ICANN

ICANN is the global forum for developing policies for coordination of some of the Internet’s core technical elements, including the domain-name system (DNS). ICANN operates on the basis of consensus, with affected stakeholders coming together to formulate coordination policies for the Internet’s core technical elements in the public interest. The policies are then implemented by the agreement of the operators of the core elements, including gTLD registry operators and sponsors, ccTLD managers, regional Internet (IP address) registries, and root-nameserver operators.

เดิมที่ภาระหน้าที่ต่างๆเหล่านี้เคย บริหารโดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกาซึ่งทำสัญญากับหน่วยงานทางทางด้านเทคนิคคือ IANA (Internet Assigned Numbers Authority ) ซึ่งหลังจากที่มีการมอบความรับผิดชอบต่างๆเหล่านี้มายัง ICANN แล้ว IANA ก็กลายเป็น”หน่วยปฏิบัติงาน” หนึ่งของ ICANN ที่ทำหน้าที่หลักในการดูแลและจัดการเกี่ยวกับหมายเลขชุด IP ซึ่งจะได้รับนโยบายในการดำเนินงานต่างๆมาจาก ICANN

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับความรับผิดชอบของ ICANN : What does ICANN do?

อุตสาหกรรมระบบโดเมน ( Domain Name Industry )

โครงสร้างอุตสาหกรรมระบบโดเมน มี ICANN เป็นองค์กรระดับบนสุดในการบริหารการทำงานของระบบโดเมนในระดับโลกหรือระดับนานาชาติ ที่มี IANA เป็นหน่วยปฏิบัติงานในการดูแล

การทำงานของ ICANN

สร้างและบริหารนโยบายต่างๆเพื่อให้เกิด เสถียรภาพและความมั่นคงของระบบโดเมนแก่ประชาคมอินเตอร์เน็ตโลก ซึ่งมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ICANN’s stakeholder model) ดังนี้

  • ผู้มีผลประโยชน์ทางธุรกิจ (Business Interests)
  • ภาคพลเมืองในสังคม (Civil Society)
  • ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง (Government & Government Agencies)
  • ผู้ให้บริการเลขหมายอินเตอร์เน็ต (Internet Service Provider)
  • ผู้ลงทะเบียนโดเมนเนม (Registrants)
  • ผู้รับลงทะเบียนโดเมนเนม (Registrars)
  • ประสานความร่วมมือและการทำงานร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ
  • สร้างและดำเนินการกระบวนการฉันทามติ (concensus) เพื่อเป็นตัวแทนการตัดสินใจให้ประชาคมอินเตอร์เน็ตโลก เช่น Public comment
  • จัดให้มีกระบวนการร้องขอ,อนุมัติและดำเนินการรวมทั้งกำกับดูแลเพื่อเปิดใช้งานโดเมนระดับบนสุด ทั้งgTLD และ ccTLD ในระบบโดเมนโลก
  • กำกับดูแลการดำเนินงานของ Registry, Registrar และ Sponsorship Organization ให้เป็นไปตามสัญญาผูกพันธ์ต่างๆ
  • กำกับดูแลนโยบายเพื่อกรณีพิพาทในโดเมนเนม
  • เป็นผู้บริหารนโยบายการดำเนินงานให้แก่ IANA ซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติงานด้านการดูแล root server รวมทั้งการดูแลจัดสรรหมายเลข IP
  • พัฒนาและดูแลหน่วยงานภายใน ICANN ที่ประกอบไปด้วยตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ
  • เผยแพร่การดำเนินงานต่างๆของ ICANN แก่ประชาคมอินเตอร์เน็ต

โครงสร้างของหน่วยบริหารทีทำหน้าที่ตัดสินใจ

การตัดสินใจดำเนินนโยบายในเรื่องต่างๆที่มี ผลกระทบต่อสังคมอินเตอร์เน็ตโลก จะมาจากการตัดสินใจของคณะกรรมการบริหารของ ICANN (ICANN Board of Director) ซึ่งประกอบด้วยผู้ร่วมตัดสินใจที่มาจาก

ผู้บริหารสูงสุดของ ICANN ( CEO President)

  • คณะกรรมการที่มาจากการเสนอชื่อ (Nominating Committee)
  • องค์กรสนับสนุนการดำเนินงาน (Supporting Organization)
  • ASO
  • GNSO
  • ccNSO – The Country Code Names Supporting Organisation (ccNSO) of ICANN is the policy development body for a narrow range of global ccTLD issues within the ICANN structure. It is established under the bylaws of ICANN. It is responsible for developing and recommending to the Board global policies relating to country-code top-level domains, nurturing consensus across the ccNSO’s community, including the name-related activities of ccTLDs, and coordinating with other ICANN Supporting Organisations, committees, and constituencies under ICANN.
  • คณะกรรมการที่ปรึกษา (Advisory Committee)
  • GAC-Goverment Advisory Committee
  • RSSAC- Root Server System Advisory Committee
  • SSAC-Security & Stability Advisory Committee
  • ALAC-At Large Advisory Committee

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้บริหารสูงสุดของ ICANN : Board of Directors

กลุ่มงานทางเทคนิค

  • TLG-Technical Liasion Group
  • IETF-Internet engineering Task Force
  • Ombudsman
Share :

THNIC Facebook Page

Member of

โครงการของมูลนิธิ

RECENT POST