นโยบายการให้บริการชื่อโดเมน .th และ .ไทย ฉบับปรับปรุงปี 2556
[ English Version ]
วันที่ประกาศ : 1 มีนาคม พ.ศ. 2556
วันที่มีผลบังคับใช้ : 1 เมษายน พ.ศ. 2556
นโยบายการให้บริการชื่อโดเมน .th และ .ไทย ฉบับปรับปรุงปี 2556 [ ภาษาไทย ] | [ English ]
หมายเหตุ : นโยบายนี้ไม่มีผลบังคับใช้ย้อนหลัง
ส่วนที่ 1 : คำจำกัดความ
ทีเอชนิค : หมายถึง บริษัท ที.เอช.นิค จำกัด ผู้รับจดทะเบียนชื่อโดเมน
คำขอ : หมายถึง คำขอจดทะเบียน ต่ออายุ แก้ไข ลบชื่อโดเมน และบริการเสริมต่าง ๆ
ผู้ถือครองชื่อโดเมน (holder of domain name) : หมายถึง องค์กรหรือบุคคลที่ได้รับสิทธิ์ในการจดทะเบียนชื่อโดเมนนั้น ซึ่งจะต้องมีสถานที่ตั้งในประเทศไทย ยกเว้นได้ระบุเป็นอย่างอื่นใน นโยบายเฉพาะเจาะจงตามประเภทชื่อโดเมน
บัญชีผู้ใช้ (user name) : หมายถึง อีเมล์สำหรับการเข้าสู่ระบบจัดการชื่อโดเมน
ผู้ส่งคำขอจดทะเบียน : หมายถึง เจ้าของบัญชีผู้ใช้
ผู้ติดต่อทางด้านการเงิน : หมายถึง ผู้ติดต่อที่ทำหน้าที่ประสานงานเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและเอกสารทางด้านการเงินของผู้ถือครองชื่อโดเมน
ผู้ติดต่อทางด้านเทคนิค : หมายถึง ผู้ติดต่อที่ทำหน้าที่ประสานงานด้านเทคนิคของผู้ถือครองชื่อโดเมน
ส่วนที่ 2 : นโยบายทั่วไป
หลักการตั้งชื่อโดเมน
- ชื่อโดเมนแต่ละชื่อจะต้องประกอบด้วยอักษรหรือตัวเลข (a-z, 0-9) อย่างน้อย 2 ตัวอักษร แต่ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
- ชื่อโดเมนสามารถมีเครื่องหมายยัติภังค์ “-” (เครื่องหมายขีดสั้น) แต่ต้องไม่ใช้ในตอนเริ่มต้นหรือลงท้ายของชื่อ และไม่ใช้ติดกัน 2 ตัว
- ชื่อที่เลือกจะต้องใช้อักษรที่มาจากชื่อองค์กรภาษาอังกฤษ ยกเว้นได้ระบุเป็นอย่างอื่นใน นโยบายเฉพาะเจาะจงตามประเภทชื่อโดเมน
- ชื่อโดเมนจะต้องไม่เป็นคำสงวนและคำเฉพาะ เช่น
- คำที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ พระบรมวงศานุวงศ์ และสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ และพระบรมวงศานุวงศ์
- ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือองค์กรหนึ่งองค์กรใด
- ต้องไม่เป็นชื่อประเทศ จังหวัด รัฐ เมือง รวมถึงสถานที่อันเป็นสาธารณะต่าง ๆ หรือสื่อถึงชื่อเหล่านั้น
- ต้องไม่ประกอบด้วยคำหยาบหรือคำที่ผิดต่อศีลธรรมอันดีงามของไทย หรือสื่อถึงคำเหล่านั้น
- คำที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์
- สามารถดูคำสงวนและคำเฉพาะได้ที่ http://reserv.thnic.co.th/
- ทีเอชนิคขอสงวนสิทธ์ในการพิจารณาในขั้นตอนสุดท้าย
หมายเหตุ สำหรับการตั้งชื่อโดเมนภายใต้ .ไทย ระบุใน “นโยบายเฉพาะเจาะจงตามประเภทชื่อโดเมน”
จำนวนชื่อโดเมน : แต่ละองค์กรสามารถที่จะขอจดทะเบียนชื่อโดเมนได้เพียง 1 ชื่อจากทุกหมวดหมู่ที่ให้บริการนั้นยกเว้นได้ระบุเป็นอย่างอื่นใน นโยบายเฉพาะเจาะจงตามประเภทชื่อโดเมน
เนมเซิฟเวอร์ : ก่อนที่บุคคลใดจะส่งใบสมัคร ผู้นั้นจะต้องทำการตรวจสอบว่า มีเนมเซิฟเวอร์อย่างน้อยสองตัว ที่ได้รับการติดตั้งข้อมูลของโดเมนที่ต้องการขอจดทะเบียน และทำำงำนได้ถูกต้องก่อนส่งใบสมัคร มิฉะนั้นกระบวนการในการจดทะเบียนจะไม่ได้รับการดำเนินการต่อไป
ค่าธรรมเนียม : ชื่อโดเมนแต่ละชื่อจะมีค่าธรรมเนียมเป็นรายปี โดยท่านจะต้องชำาระค่าธรรมเนียมตามอัตราที่ประกาศไว้บนหน้าเว็บทีเอชนิค
การต่ออายุชื่อโดเมน : แม้ว่าทีเอชนิคจะมีกระบวนการแจ้งเตือนวันหมดอายุชื่อโดเมน แต่ท่านจะรับผิดชอบที่จะตรวจสอบวันหมดอายุ และต่ออายุ เพื่อป้องกันไม่ให้ชื่อโดเมนของท่านถูกระงับการใช้งาน และถูกลบออกจากระบบ
การเปลี่ยนแปลงข้อมูล : การเปลี่ยนแปลงข้อมูล แบ่งเป็น 2 ประเภท
- เปลี่ยนแปลงได้ทันที ได้แก่ ข้อมูลผู้ติดต่อทางด้านการเงิน ข้อมูลผู้ติดต่อทางด้านเทคนิค และ เนมเซิฟเวอร์
- เปลี่ยนแปลงข้อมูลสำคัญ ซึ่งต้องใช้เอกสารประกอบ ได้แก่ ผู้ถือครองชื่อโดเมน และ บัญชีผู้ใช้ (user name)
การโอนชื่อโดเมน : ชื่อโดเมนควรจะถูกใช้โดยผู้ถือครองชื่อโดเมน หรือบุคคลใด ๆ ที่อ้างไว้ในคำขอ ทีเอชนิคจะไม่โอน หรือให้คำอนุญาตบุคคลใด ๆ เพื่อโอนชื่อโดเมน เว้นแต่ผู้ถือครองชื่อโดเมนเปลี่ยนชื่อ หรือ เกิดการควบรวม
กิจการที่ทำให้ชื่อองค์กรเปลี่ยนไป
การสิ้นสภาพถือครองชื่อโดเมน : จะเกิดได้จากสาเหตุใด ๆ ดังต่อไปนี้
- ได้รับคำขอ พร้อมเอกสารรับรองการลบชื่อโดเมนจากผู้ถือครองชื่อโดเมน
- ละเว้นการชำระค่าบริการเพื่อต่ออายุ หรือ แจ้งยืนยันการชำระเงิน
- ชื่อโดเมนจะถูกระงับการใช้งาน หลังจากชื่อโดเมนหมดอายุ 1 เดือน
- ชื่อโดเมนจะถูกลบออกจากระบบ หลังจากชื่อโดเมนหมดอายุ 2 เดือน
- การจดทะเบียนใด ๆ สามารถถูกเพิกถอนได้ ด้วยคำาสั่งจากศาล
- กรณีที่ทีเอชนิคตรวจสอบพบภายหลังว่าชื่อโดเมนไม่ตรงตามหลักการตั้งชื่อโดเมน
- กรณีที่ผู้ถือครองเป็นบุคคลสาปสูญ หรือเสียชีวิต
- กรณีที่ผู้ถือครองล้มละลาย, ร้าง หรือเลิกกิจการ
หมายเหตุ การสิ้นสุดชื่อโดเมน สำหรับหัวข้อ 5 และ 6 จะกระทำต่อเมื่อทีเอชนิคได้รับแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร และทำการตรวจสอบเรียบร้อย รวมถึงแจ้งผู้เกี่ยวข้องกับชื่อโดเมนทราบและประกาศผ่านหน้าเว็บทีเอชนิคแล้ว
ระยะเวลาการพิจารณา : ทีเอชนิคจะใช้เวลาไม่เกิน 3 วันทำาการ สำาหรับการขอจดทะเบียนที่มีความสมบูรณ์ถูกต้องตามนโยบายการจดทะเบียน รวมทั้งได้รับเอกสารประกอบการพิจารณาและหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียม
อายุของคำขอ : ในแต่ละคำขอจะมีอายุ 30 วัน โดยในช่วงอายุของคำขอ ผู้อื่นจะไม่สามารถส่งคำขอในชื่อโดเมนเดียวกันได้
เงื่อนไขการส่งคำขอ : ในแต่ละบัญชีผู้ใช้ จะสามารถส่งคำขอจดทะเบียนชื่อโดเมนเดียวกัน ได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ภายในระยะเวลา 60 วัน
การยกเลิกคำขอที่ได้รับการอนุมัติแล้ว : คำขอจดทะเบียน ต่ออายุ เปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือ ยกเลิกโดเมน หากได้รับการ พิจารณาอนุมัติแล้ว คำาขอเหล่านั้นจะถือเป็นคำขอที่สมบูรณ์ ไม่สามารถยกเลิก แก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือ ขอคืนค่าใช้จ่ายได้ หากต้องการเปลี่ยนแปลง หรือ ยกเลิกโดเมน ผู้ขอจะต้องส่งคำขอใหม่อีกครั้ง
การลบบัญชีผู้ใช้ (user name) : บัญชีผู้ใช้จะถูกลบออกจากระบบอัตโนมัติ กรณีที่มิได้ใช้งานนานเกิน 2 ปี และไม่มีชื่อโดเมนอยู่ในการดูแล
ความรับผิดชอบต่อชื่อโดเมน :
- ผู้ส่งคำขอจดทะเบียน รับทราบและยินยอมที่จะส่งมอบชื่อโดเมนให้ผู้ถือครองชื่อโดเมนใช้งาน และจะรับผิดชอบในทุกกรณี โดยการส่งคำขอถือเป็นการรับรองต่อทีเอชนิคว่าผู้ส่งคำขอได้ให้ข้อมูลที่ถูกต้องต่อทีเอชนิคแล้ว
- ผู้ถือครองชื่อโดเมน จะถือสิทธิ์ทั้งมวลในการใช้ชื่อโดเมนดังที่แสดงไว้ในคำขอ ผู้ถือครองชื่อโดเมนจะกันทีเอชนิคออกจากความเสียหายและค่าใช้จ่ายใด ๆ อันเกิดจากการฟ้องร้องดำเนินคดี ซึ่งเป็นผลจากการใช้ชื่อโดเมน ดังนั้นถือว่า ทีเอชนิคไม่ได้มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ ในการพิสูจน์ และยืนยันการใช้สิทธิ์ในชื่อโดเมน
การแก้ไขข้อขัดแย้ง : ทีเอชนิคจะไม่เป็นตัวกลางในข้อขัดแย้งใด ๆ ซึ่งอาจเกิดขึ้นกับผู้ถือครองชื่อโดเมน ทีเอชนิคจะแก้ไขข้อขัดแย้งโดยยึดคำาสั่งจากศาล ถ้าหากข้อขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่างขั้นตอนการจดทะเบียนชื่อโดเมน ทีเอชนิคจะหยุดกระบวนการไว้ก่อนจนกระทั่งข้อขัดแย้งนั้น ๆ สิ้นสุด หรือมีการลงชื่อในข้อตกลงทางกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร จากคู่กรณีทั้งสองฝ่าย รวมทั้งจากศาล และได้ส่งมาถึงทีเอชนิคเรียบร้อย
การแจ้งข้อมูลเท็จ : ทีเอชนิคถือเป็นความผิดในเรื่องการแจ้งข้อมูลเท็จและการปลอมแปลงเอกสารในการขอจด
ทะเบียนชื่อโดเมน หากทีเอชนิคทราบเรื่องดังกล่าว ทีเอชนิคสงวนสิทธิ์ในการระงับ หรือลบชื่อโดเมน โดยไม่ต้อง
แจ้งให้ผู้ถือครองชื่อโดเมนทราบล่วงหน้า และจะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมใด ๆ แก่ผู้ขอจดทะเบียนชื่อโดเมนนั้น
การป้องกันเมล์ขยะ : การส่งเมล์ขยะถือเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ ทีเอชนิคสงวนสิทธิ์ในการเพิกถอน การจดทะเบียนของชื่อโดเมนใด ๆ ที่พบว่ามีการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ที่ไม่ถูกกฎหมาย รวมทั้งใช้โจรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และการส่งอีเมล์ขยะที่ผู้รับไม่ได้ร้องขอ
ข้อมูลบน WHOIS : ทีเอชนิคบรรจุข้อมูลของชื่อโดเมนที่ได้รับการจดทะเบียนทั้งหมดไว้ในฐานข้อมูล WHOIS โดย
การค้นหาข้อมูลสามารถสืบค้นได้จากบริการ whois บนหน้าเว็บของทีเอชนิค หรือ การใช้คำาสั่ง whois (who is) จากเชลล์แอคเคาท์ใด ๆ เช่น ถ้าต้องการรู้ข้อมูลของชื่อโดเมน “thnic.in.th” ให้พิมพ์ “whois -h whois.thnic.co.th thnic.in.th” ที่พร้อมพ์ของเชลล์แอคเคาท์ของผู้ใช้ ซึ่งข้อมูลที่แสดงจะเป็นข้อมูลผู้ถือครองชื่อโดเมน (Holder of domain) ผู้ดูแลทางด้านเทคนิค วันจดทะเบียน และวันหมดอายุ รวมทั้งเนมเซิฟเวอร์
ความเป็นส่วนตัว : ทีเอชนิคถือสิทธิ์ในการเปิดเผยข้อมูลในฐานข้อมูล WHOIS แก่สาธารณชน ทั้งในลักษณะที่เป็นลายลักษณ์อักษร และ จากการเรียกดูด้วยแบบฟอร์มออนไลน์
พันธะของทีเอชนิค : ทีเอชนิคไม่ต้องรับผิดชอบทางกฎหมาย และในการปฏิบัติงาน ต่อความเสียหายในการใช้งาน
การขัดข้องในการดำาเนินธุรกิจ หรือการณ์ใด ๆ โดยทางอ้อม ทางพิเศษ โดยบังเอิญ หรือเป็นผลที่สืบเนื่อง (รวมถึงการสูญเสียกำไรที่พึงได้) ไม่ว่าจะเกิดจากการกระทำในรูปแบบใดทั้งในการทำาสัญญา การละเมิด (รวมถึงการกระทำโดยประมาท) หรืออื่นใดก็ตาม แม้ว่าทีเอชนิคจะได้รับคำแนะนำให้ทราบถึงความเป็นไปได้ของความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นนั้นก็ตาม
ส่วนที่ 3 : นโยบายเฉพาะเจาะจงตามประเภทชื่อโดเมน
.ac.th : สำหรับสถานศึกษา ที่ได้รับประกาศรับรองโดยกระทรวงศึกษาธิการหรือหน่วยงานที่มีสถานะเทียบเท่าเอกสาร : หนังสือจัดตั้งสถานศึกษา
กรณีที่ไม่สามารถแสดงหนังสือจัดตั้งได้ สามารถออกหนังสือรับรองซึ่งระบุใจความดังนี้
- หน่วยงานที่สังกัด
- ที่ตั้งของสถานศึกษา
- คำรับรองการขอจดทะเบียนชื่อโดเมน
- ลงนามรับรองโดยผู้อำนวยการ หรือผู้มีอำนาจลงนามของสถานศึกษานั้น ๆ พร้อมประทับตราสำคัญ
หมายเหตุ กรณีที่เป็นสถานศึกษาประเภทกวดวิชา จะต้องแสดงใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนเท่านั้น
ตัวอย่างหนังสือจัดตั้งสถานศึกษา
ตัวอย่างหนังสือรับรองการจดทะเบียนชื่อโดเมน
.co.th : สำหรับนิติบุคคลทางธุรกิจ รัฐวิสาหกิจ หรือ ผู้ถือครองเครื่องหมายการค้า/บริการ
เอกสาร : สามารถพิจารณาได้เป็น 2 กรณี
กรณีที่ 1 จดทะเบียนชื่อโดเมนโดยพิจารณาจากชื่อองค์กร
- ชื่อโดเมนจำเป็นต้องสอดคล้อง, เป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือย่อมากจากชื่อองค์กรได้ (ไม่สามารถเพิ่มตัวอักษร)
- ชื่อองค์กร 1 ชื่อ สามารถใช้อ้างอิงเพื่อจดทะเบียนชื่อโดเมนได้เพียง 1 ชื่อ เท่านั้น
หมายเหตุ กรณีไม่ใช่นิติบุคคล แต่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถจดทะเบียน .co.th ได้ โดยยื่นเอกสาร ภ.พ.20
- นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย
- หนังสือรับรองนิติบุคคล
หรือ เอกสาร ท.ค.0401 หรือ พ.ค.0401 (ทะเบียนการค้า)
หรือ เอกสาร ภ.พ.20 (ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
- หนังสือรับรองนิติบุคคล
- นิติบุคคลต่างประเทศ จะต้องมีตัวแทนที่จดทะเบียนนิติบุคคลในประเทศไทย
- หนังสือรับรองนิติบุคคลต่างประเทศ (ทั้งต้นฉบับ และฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ)
- หนังสือรับรองนิติบุคคลตัวแทนที่จดทะเบียนนิติบุคคลในประเทศไทย
- หนังสือรับรองที่รับรองโดยนิติบุคคลต่างประเทศ ซึ่งมีใจความสำคัญ ดังนี้
- รับรองว่านิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยเป็นบริษัทตัวแทน
- รับรองการอนุญาตใช้ชื่อนิติบุคคลต่างประเทศในการจดทะเบียนชื่อโดเมน โดย
ระบุชื่อโดเมนอย่างชัดเจน
กรณีที่ 2 จดทะเบียนชื่อโดเมนโดยพิจารณาจากเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการ/เครื่องหมายรับรอง/เครื่องหมายร่วม
- ชื่อโดเมนจำเป็นต้องตรงกับเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการ/เครื่องหมายรับรอง/เครื่องหมายร่วมทุกตัวอักษร
- หน่วยงาน/บุคคล ที่มีเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการ/เครื่องหมายรับรอง/เครื่องหมายร่วมมากกว่า 1 ตัว สามารถจดชื่อโดเมน .co.th ได้ตามจำนวนเครื่องหมายนั้น
- เครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการ/เครื่องหมายรับรอง/เครื่องหมายร่วมที่จดทะเบียนในประเทศไทย
- หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการ/เครื่องหมายรับรอง หรือ เครื่องหมายร่วม ที่ได้จดทะเบียนและออกให้โดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประเทศไทย
- เครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการ/เครื่องหมายรับรอง/เครื่องหมายร่วมที่จดทะเบียนในต่างประเทศ จะต้องมีตัวแทนที่จดทะเบียนนิติบุคคลในประเทศไทย
- หนังสือสำาคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการ/เครื่องหมายรับรอง/เครื่องหมายร่วมต่างประเทศ (ทั้งต้นฉบับ และฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ)
- หนังสือรับรองนิติบุคคลตัวแทนที่จดทะเบียนนิติบุคคลในประเทศไทย
- หนังสือรับรองที่รับรองโดยนิติบุคคลต่างประเทศ ซึ่งมีใจความสำคัญ ดังนี้
- รับรองนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยเป็นตัวแทน
- รับรองการอนุญาตใช้ชื่อเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการ/เครื่องหมายรับรอง/เครื่องหมายร่วมต่างประเทศในการจดทะเบียนชื่อโดเมน โดยระบุชื่อโดเมนอย่างชัดเจน
.go.th : สำหรับส่วนราชการ และโครงการในกำกับของหน่วยงานภาครัฐ
นโยบายเพิ่มเติม : ชื่อโดเมนจะต้องสอดคล้องกับ “หลักการตั้งชื่อโดเมน” และหากจดทะเบียนชื่อโดเมนภายใต้โครงการ ชื่อโดเมนจะต้องสอดคล้องกับชื่อโครงการนั้น ๆ
เอกสาร :
- หนังสือรับรองการขอจดทะเบียนชื่อโดเมนถึงผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงของหน่วยงานต้นสังกัด (CIO : Chief Information Officer) หรือ
- หนังสือรับรองการใช้ชื่อโดเมนของหน่วยงานซึ่งออกโดย CIO ของหน่วยงานต้นสังกัดกรณีที่เป็นโครงการ จะต้องแสดงหนังสือซึ่งประกอบด้วย
- รายนามคณะกรรมการ
- วัตถุประสงค์ของโครงการ
- วันสิ้นสุดของโครงการ
- หน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการ
.in.th : สำหรับองค์กร หรือ บุคคล (รายละเอียด เพิ่มกรณีที่เด็กอายุต่ำ่กว่า 15 ปี)
นโยบายเพิ่มเติม :
- สามารถจดทะเบียนได้ไม่จำกัดจำนวน
- ชื่อโดเมนสามารถตั้งได้โดยอิสระ ภายใต้ “หลักการตั้งชื่อโดเมน” (เฉพาะข้อ 1-2,4-5)
- เครื่องหมายการค้าต่างประเทศสามารถขอจดทะเบียนชื่อโดเมนภายใต้ .in.th เพื่อปกป้องสิทธิ์ โดยชื่อโดเมนจะต้องตรงกับเครื่องหมายการค้าทุกตัวอักษร แต่จะไม่สามารถใช้งานได้ ทั้งนี้มีค่าธรรมเนียมรายปี เช่นเดียวกับชื่อโดเมนที่มีการใช้งานปกติ
เอกสาร : สามารถพิจารณาได้ 2 กรณี
กรณีที่ 1 สำหรับองค์กร
- เอกสารแสดงการจัดตั้งองค์กร หรือ
- หนังสือรับรองการขอจดทะเบียน โดยระบุชื่อโดเมนและผู้ถือครอง
กรณีที่ 2 สำหรับบุคคลทั่วไป
- บัตรประชาชน, บัตรประจำาตัวข้าราชการ
- ใบขับขี่
- หนังสือเดินทางที่ออกโดยราชอาณาจักรไทย
- ใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย (work permit)
กรณีผู้ถือครองอายุตำ่ากว่า 15 ปี จะต้องขอจดทะเบียนชื่อโดเมนในนามของผู้ปกครองและสามารถเปลี่ยนแปลงผู้ถือครองได้เมื่อมีอายุครบ 15 ปี บริบูรณ์แล้ว
.mi.th : สำหรับหน่วยงานทางทหาร
เอกสาร : หนังสือรับรองจาก กรมการสื่อสารทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย อนุญาตให้หน่วยงาน/องค์กรภายใต้การกำากับของ กองบัญชาการกองทัพไทย จดทะเบียนชื่อโดเมนภายใต้ .mi.th ได้
.net.th : สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม
เอกสาร : ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมทั้ง 3 แบบ ตามพระราชบัญญัติ การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔
.or.th : สำหรับองค์กรพัฒนาเอกชน
เช่น สมาคม มูลนิธิ สภาวิชาชีพ ศาสนสถาน องค์การมหาชนอิสระ สหกรณ์ พรรคการเมือง สถานฑูต หอการค้า ชมรม หรือ โครงการเพื่อสังคม เป็นต้น
เอกสาร : หนังสือจัดตั้งองค์กรที่รับรองโดยหน่วยงานภาครัฐ เช่น หนังสือจัดตั้งสมาคม หรือ หนังสือจัดตั้งมูลนิธิ เป็นต้น
กรณีที่ไม่สามารถแสดงหนังสือจัดตั้งองค์กรข้างต้น จะต้องแสดงหนังสือ 2 ฉบับ ได้แก่
- หนังสือแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับองค์กร ดังนี้
- รายนามคณะกรรมการ
- วัตถุประสงค์
- ที่อยู่
- สำหรับโครงการ ให้ระบุวันสิ้นสุดของโครงการ
- หนังสือรับรองจากองค์กรพัฒนาเอกชนอื่นที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลหรือหน่วยงานภาครัฐ รับรองว่ามีหน่วยงานดังกล่าวอยู่จริง
.ไทย อ่านรายละเอียดที่ นโยบายจดทะเบียนชื่อโดเมนภายใต้ .ไทย
https://www.thnic.or.th/doc/dotthai_policy_th.pdf สำหรับภาษาไทย
https://www.thnic.or.th/doc/dotthai_policy_en.pdf สำหรับภาษาอังกฤษ